ประสิทธิภาพของ เบรค ว่าจะอยู่ดีขนาดไหน นอกจากปัจจัยที่เป็นวัสดุแล้วสิ่งต่างๆที่จะยกทัพตามมาและเป็นผลต่อเนื่องไปสู่ประสิทธิภาพ เบรค ไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว เริ่มกันตั้งแต่อากาศซึ่งก็มักจะเกี่ยวข้องกับบรรดาอุณหภูมิอยู่แล้ว ไม่ว่าจะยังไงก็ตามมันยังจะต่อเนื่องมาถึงเรื่องของแรงดันอีกด้วย และสิ่งเหล่านี้มักจะมีผลในส่วนของระบบน้ำมัน ซึ่งไหนๆ กล่าวมาถึงระบบของน้ำมันแล้วก็มาดูในเรื่องนี้กันก่อน
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าบรรดาน้ำมันเบรคจะต้องเป็นน้ำมันที่มีจุดเดือดสูง เพราะต้องผจญกับความร้อนอยู่ตลอดเวลาของการทำงานหรือการแข่งขัน การทำงานแต่ละครั้งของเบรคจะทำให้เกิดความร้อนความร้อนเหล่านี้จะแผ่กระจายเข้าสู่ส่วนต่างๆ ในระบบเบรคอย่างทั่วถึง รวมทั้งสิ่งที่อยู่รอบๆเช่น หน้าแปลนของล้อที่ติดกับจานเบรคก็จะรับความร้อนนนี้ไปด้วยเต็มๆ และส่งผลไปถึงยางด้วย หากใช้วัสดุที่คลายความร้อนได้เร็วก็จะลดอุณหภูมิลงได้
แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ความร้อนสะสมจากการเบรคแต่ละครั้งก็จะมีเยอะขึ้นแน่นอนว่าน้ำมันที่อยู่ในระบบก็จะต้องเจอกับความร้อนมันส่งผลมาถึงแรงดันโดยตรงเนื่องจากเมื่อวัตถุที่ได้รับความ ไม่ว่าจะของเหลวหรือของแข็ง ก็มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างซึ่งบรรดาน้ำมันก็มีโอกาสที่จะขยายตัวได้เช่นกัน เนื่องจากหากมีอากาศเกิดขึ้นภายในไม่ว่าจะจากการเดือดของน้ำมันหรือที่เจือปนอยู่จำนวนมากหรือที่ไล่ลมในระบน้ำมันเบรคไม่หมด อากาศจะขยายตัวได้ง่ายและยอมให้ถูกบีบอัดได้เช่นกัน ทำให้เป็นผลต่อการกดแป้นเหยีบในทันที โดยอุณหภูมิการทำงานของจานเบรคเมื่อกดแป้นเบรคลงไปแล้ว แรงดันที่ส่งไปยังลูกสูบเบรคที่คาลิเปอร์จะลดลงในทันที เนื่องจากอากาศภายในระบบยอมให้ถูกบีบอัดลงได้ หรือหดตัวนั่นเอง
มาถึงเรื่องของอุณหภูมิภายนอกระบบน้ำมันกันบ้าง คุณภาพของวัสดุจะมีผลต่อการทำงานโดยตรงซึ่งผ้าเบรคแต่ละชนิดแต่ละเกรดจะมีช่วงของอุณหภูมิการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางชนิดจำเป็นต้องใช้ อุณหภูมิสะสมในระดับหนึ่งก่อนจึงจะให้ประสิทธิภาพเบรคได้สูงสุดและไม่เกินระดับที่รับได้เช่น ประสิทธิภาพของเบรครุ่น A สามารถใช้กับความร้อนและทนกับความร้อนได้ถึง 1,000 องศา แต่ผ้าเบรครุ่น B สามารถทนความร้อนได้ 800 องศา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ารุ่น Aที่ทนความร้อนได้ดีกว่านั้นจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเสมอไป เพียงแต่มันสามารถทนความร้อนได้มากกว่าแต่ "ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด" ของตัวผ้าเบรคอาจจะอยุ่ที่ 500-800 องศา เกินจาก 800 ไปอาการหรือประสิทธิภาพเริ่มลดลงและเมื่อเกิน 1,000 ก็จะหมดประสิทธิภาพ แล้วก่อน 500ล่ะแน่นอนว่าทำงานได้แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน
ในรุ่น B ก็เหมือนกันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานได้ดีตั้งแต่เริ่มออกรถไปจนถึงอุณหภูมิ 800 ช่วงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอาจะอยู่ที่ 300-600 ก็เป็นได้ขึ้นอยู่กับสเป็คที่ทางโรงงานผู้ผลิตได้กำหนดมา
อุณหภูมิการทำงานของผ้าเบรคจะต้องสัมพันธ์กับส่วนอื่นด้วย นั่นคือจานเบรค เพราะการทำหน้าที่ร่วมกันนั้น 2อย่างนี้จะเกิดความร้อนขึ้นและจานเบรคก็จะเป็นตัวที่ช่วยทำหน้าที่ในการระบายความร้อน
เนื่องจากตัวมันที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนแล้วยังเป็นหนึ่งตัวการที่จะเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิ เพราะตัวจานเบรคจะเป็นตัวที่สะสมความร้อนเอาไว้หากจานเบรคที่ไม่มีรูระบายไม่มีร่องกลางและมีความหนาพอสมควร แน่นอนว่าจะทำให้เกิดการอมความร้อนเพราะไม่มีพื้นที่หน้าสัมผัสให้อากาศไหลผ่านไประบายความร้อนออกไป แล้วมันจะดียังไงมีแต่สะสมความร้อนไม่ให้ระบายออกไป อย่าลืมว่าผ้าเบรคบางชนิดจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในอุณหภูมิที่มันต้องการ
การแข่งขันบางประเภทอาจทำให้ยากแก่การระบายความร้อนทำให้เบรคไหม้หรือโอเวอร์ฮีท เราจึงต้องเลือกใช้จานเบรคที่ทำจากวัสดุที่ระบายความร้อนได้ดีน้ำหนักเบาเพราะรถมีความเร็วสูง ยางและพื้นถนนมีแรงเสียดทานค่อนข้างเยอะ ทำให้ภาระตกมาอยู่ในระบบเบรคค่อนข้างมากและเกิดความร้อนแต่การแข่งขันบางรายการอาจต้องการความร้อนสะสมในระบบเบรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเบรคเช่น การแข่งขันแรลลี่ในสนามที่มีภูมิประเทศหนาวเย็น แข่งกันบนทางหิมะหรือพื้นน้ำแข็ง ซึ่งแรงเสียดทานระหว่างยางกับผิวถนนมีน้อยทำให้เกิดความร้อนในระบบเบรคไม่มาก อีกทั้งยังอยู่ในพื้นที่ๆ มีอากาศเย็นความร้อนสะสมในระบบเบรคจึงมีน้อยจำเป็นต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมเพื่อให้ระบบเบรคมีอุณหภูมิการทำงานที่ดีตามรูปแบบของการแข่งขัน
ผ้าเบรคแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มผ้าเบรคที่ผสมสาร Asbestos โดยผ้าเบรคชนิดนี้จะมีราคาถูกและมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ผ้าเบรคชนิดนี้จะใช้ได้ดีในความเร็วต่ำ และประสิทธิภาพลดลงมาใช้เบรคที่ความเร็วสูงๆ อีกทั้งเนื้อผ้าเบรคจะหมดเร็ว
2. กลุ่มผ้าเบรคที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ
2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมของโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าเบรคที่นิยมผลิตในประเทศอเมริกาและประเทศแทบยุโรป
2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าเบรคที่นิยมผลิตในประเทศญี่ปุ่น
โดยทั้ง 2 ชนิดนี้จัดเป็นผ้าเบรคเกรดใกล้เคียงกัน
คณสมบัติของผ้าเบรค
สัมประสิทธิ์ของความฝืด ผ้าเบรคที่มีความฝืดสูงจะมีผลทำให้เบรคได้ดีกว่า ซึ่งสามารถทำให้กลไกระบบเบรคเล็กลงและต้องการแรงเหยียบที่น้อยกว่า ผ้าเบรคที่มีความฝืดต่ำๆ
ความทนทานต่อการใช้งาน การสึกหรอของผ้าเบรคนั้นเป็นไปตามความเร็วของรถยนต์และสภาพการใช้งาน รวมถึงอุณหภูมิเบรคอย่างไรก็ตาม ผ้าเบรคที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดีจะเป็นเหตุให้จานเบรคเกิดสึกหรือเกิดรอยได้ง่าย
การชดเชย เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรคเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดทำให้เกิดความร้อนสะสม สัมประสิทธิ์ทางความฝืดลดลง และผลในการเบรคลดลง เป็นเห็นในการเบรคมีความไม่แน่นอน สิ่งนี้เป็นที่ทาบกันก็คือรถยนต์จะเบรคไม่อยู่ เมื่อเบรคร้อนเกินไป ผ้าเบรคจะต้องเย็นลงก่อนถึงจะสามารถเบรคได้ดีเช่นเดิม เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรคที่มีการเปลี่ยนสัมประสิทธิ์ไปตามอุณหภูมิ
ควรเปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อไหร่
โดยทั่วไปจะมีกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบผ้าเบรคกันทุกๆ 3 เดือน หรือประมาณ 5,000 กม. ส่วนอายุของผ้าเบรคนั้นคงสรุปได้ยากเนื่องจากมีปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น คุณสม่บัติของผ้าเบรคเอง วิธีการขับรถของผู้ขับขี่ สภาพการใช้งาน น้ำหนักรถ และเพื่อความคล่องตัวสะดวกสบายของเจ้าของรถยนต์ รถยนต์รุ่นใหม่ๆ จึงมันจะมีระบบเตือนเบรคมาให้อยู่ที่หน้าปัดเลย เมื่อไฟเตือนนี้ขึ้นแสดงว่าระบบเบรคมีปัญหา อาจจะเป็นได้ทั้งน้ำมันเบรคที่ไม่อยู่ในระดับปกติ จนถึงผ้าเบรคควรถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว
ในบางกรณีที่เจ้าของรถไม่ตรวจสอบระบบเบรคเป็นประจำก็สามารถสังเกตุด้วยเสียงของการเบรคได้ เช่น เสียงที่เกิดจากเหล็กยืดติดกับแผ่นดิสเบรคขูดไปบนจานเบรค อันนี้จะเป็นการเตือนชัดๆ ตรงๆ เลยว่าผ้าเบรคของคุณหมดแล้ว ช่วยรีบน้ำรถไปเปลี่ยนผ้าเบรคที หากไม่รีบแก้ไขนอกจากจะเปลี่ยนผ้าเบรคแล้วอาจจะต้องเปลี่ยนจานเบรคเพิ่มเติมด้วยก็เป็นได้
ชนิดของผ้าเบรคที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. NAO (NON ASBESTOS ORGANIC) กลุ่มนี้จะใช้วัตถุดิบที่เป็นใยโลหะสังเคราะห์ มีน้ำหนักเบา เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ลักษณะเด่นของกลุ่มนี้คือ น้ำหนักเบา ง่ายต่อการความคุมไม่ให้เกิดฝุ่นและเสียง และมีแรงเสียดทานสูง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ส่วนมากจะต้องผสมหลายชนิด การทนต่ออุณหภูมิการใช้งานสูงๆ จะไม่ค่อยดีนัก การดูซัก และการคายความร้อน ได้ยาก และที่สำคัญมากๆ เลยคือใยสังเคราะห์บางตัวไม่ใช้ Asbestos อาจจะมีอัตรายต่อระบบหายใจได้
2. Semi-Metallic หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Semi met กลุ่มนี้จะใช้วัตถุดิบที่เป็นใยเหล็กเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานเลย และมีแรงเสียดทานเพียงบางส่วน ในกลุ่มนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถทดทานต่ออุณภูมิสูงๆ ได้ดี มีการคายความร้อนได้เร็ว แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่คือในด้านการเกิดเสียงดังและฝุน
3. Fully Metallic หรือ Metallic กลุ่มนี้จะใช้วัตถุดิบคือผงเหล็กและนำมาขึ้นรูปด้วยเทคนิคการซินเทอร์ริง (Sinter) ซึ่งการอัดขึ้นรูปลักษณะนี้จะเป็นการอัดขึ้นรุปที่มีแรงดันสูงและมีอุณหภูสูงปานกลาง ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยเฉพาะ ตรงที่สามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานสูงๆ ได้มาก
4. ASBESTOS เป็นผ้าเบรคที่มีองค์ประกอบหลักเป็นใยหินมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดีที่อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชิวิตอย่างมาก หลายๆ ประเทศจึงออกกฎห้ามผลิตผ้าเบรคชนิดนี้แล้ว
5. กลุ่ม Advanc Material กลุ่มนี้จะเป็นวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วทั้งหมด ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นวสูงในการหาวัตถุดิบรวมถึงการผลิตด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ
ผ้าเบรคที่ดีและควรนำมาใช้
ผ้าเบรคที่ดีควรจะไม่มีสารแอสเบสตอสผสมอยู่ ผ้าเบรคควรจะสามารถหยุดรถได้ดีมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานขอผุ้ขับขี่เป็นหลัก เช่น หากขับรถที่ความเร็วต่ำๆ อยู่ตลอด การซื้อผ้าเบรคที่ทนอุณหภูมิสูงๆ มันจะดุไร้สาระไปเลย ผ้าเบรคที่ดีควรมีเสียงน้อย
ทริป
หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรคมาใหม่ๆ ในช่วงแรกของการใช้งาน ประมาณ 200 กม. แรก ไม่ควรเหยียบเบรคอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ผ้าเบรค และจานเบรคเป็นรอยได้ และจะทำให้การเบรคมีเสียงดังและประสิทธิภาพลดลง