วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

เพลาขับ กับ สายพานไทม์มิ่ง

มารู้จักวิธีการดูแลรักษา "เพลาขับ" หากเอ่ยถึงเพลาขับ เชื่อว่าผู้ขับขี่มือใหม่หลายท่าน   น่าจะยังไม่รู้จักเจ้าชิ้นส่วนอุปกรณ์นี้   วันนี้เราจะพาท่าน มารู้จักกับ ชิ้นส่วนอุปกรณ์   ที่เกี่ยวกับระบบส่งกำลังการขับเคลื่อน  ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งนั่นคือ  เพลาขับ (Drive Shaft)   เพลาขับ มีหน้าที่ ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปสู่ยังล้อ   โดยเฉพาะกับรถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า   เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการส่งกำลังขับเคลื่อนของรถยนต์  ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลัง   ทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์มีอาการกระตุก หรืออาการสั่นสะท้าน   ในขณะขับขี่เมื่อเพลามีปัญหาอีกด้วย
เมื่อเพลาขับ สำคัญขนาดนี้ เราก็ควรรู้ถึง สาเหตุที่ทำให้เพลาขับมีปัญหา และการดูแลรักษาเพื่อยืดอายุเพลาขับ

สาเหตุที่ทำให้เพลาขับมีอายุการใช้งานสั้น
1. ยางหุ้มเพลาขับชำรุด เปื่อย ขาด หรือสายลัดชำรุด หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงพัฒนากันมานาน ทำให้เพลาขับสำหรับรถขับเคลื่อนล้อ  หน้ามีความทนทานมากขึ้น   มีอายุการใช้งานนานขึ้น  แต่อย่างไรก็ตาม เราควรดูแลบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอ
2. การหักเลี้ยวสุด บ่อยๆ และการออกรถอย่างรุนแรง พฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถ ที่หักเลี้ยวจนพวงมาลัยสุดบ่อยๆ หักเลี้ยวมุมแคบ  และขณะหักเลี้ยวออกรถด้วยความแรง   จะทำให้เพลารับภาระที่ค่อนข้างหนัก   เป็นผลให้อายุการใช้งานสั้นลง
3. หมดอายุตามการใช้งาน ซึ่งเพลาขับทั่วไป  มีอายุมากกว่า 120,000 - 150,000 กม.

ลักษณะอาการ "เพลาขับ" มีปัญหา
1. ที่ความเร็วต่ำ เวลาหักเลี้ยวมากๆ หรือเกือบสุด และเคลื่อนตัวเป็นจังหวะ  จะมีเสียงดัง  "แก็กๆ"  เป็นจังหวะ  อาจเป็นด้านใดด้านหนึ่ง   หรือเป็นเวลาเลี้ยวซ้าย หรือขาว  เมื่อล้อรถหมุนคืนในต่ำแหน่งตรง   เสียงดังกล่าวจะหายไป
2. ขณะที่เร่งความเร็วจะมี อาการสั่น สะท้าน  หรือกระพือ อาจเป็นที่ความเร็วใดความเร็วหนึ่งก็ได้   ลักษณะเช่นนี้ เป็นไปได้ว่า  เพลาขับตัวในอาจมีการสึกหรอ  หรือมีอาการหลวมเกิดขึ้น

การซ่อมบำรุง "เพลาขับ"
1. เบิกของใหม่จากศูนย์บริการมาตรฐาน แน่นอนว่าเป็นอะไหล่แท้ที่มีคุณภาพสูง   ส่วนราคาย่อมสูงตามไปด้วย ถ้าหากเป็นรถที่ยังไม่เก่ามากนัก มีเงินพอจะจ่ายได้ การเลือกซื้อของศูนย์  ถือเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง
2. เพลามือสอง ที่หาซื้อได้ตามเชียงกงขายอะไหล่เก่า เพลาพวกนี้ เป็นเพลาแท้ติดมากับรถ  แต่มีการใช้งานแล้ว จึงมีราคาถูก  คุณภาพพอใช้ได้  ต้องเลือกดูที่ตัวเพลา ว่ายังแน่นหรือหลวมแล้ว   ส่วนอายุการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับ  สภาพของอะไหล่ที่ได้มา   อาจจะใช้งานต่อไปได้ซัก 1-2 ปี
3. เพลา Re-built หรือเพลาซ่อม คือ เพลาเก่าที่หมดสภาพ การใช้งาน   นำมาซ่อมแซมแก้ไขใหม่   ซึ่งเพลาแบบนี้    มีหลายระดับให้เลือก  ราคาว่ากันตามแหล่งที่มา และวิธีรีบิลท์   หากไปเจอ เพลารีบิลท์ ซึ่งเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ที่เป็นของนำเข้า คุณภาพสูงจากต่างประเทศ  จะมีอายุการใช้งานนาน ประมาณ 3-5 ปี
4. ใช้เพลาเทียม หรือของเทียบ คุณภาพสำหรับของเทียม  ย่อมไม่ทนนานเท่าของแท้ แน่นอนอยู่แล้ว   ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอะไหล่เหล่านั้น  ส่วนใหญ่จะบอกว่า มาจากโรงงานผลิตเดียว กับของแท้ ที่ขายในห้าง หรือศูนย์บริการ  คงต้องดูให้ดี ที่ราคาไม่แพงรับได้กับคุณภาพ
5. ช่างเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เอง เช่น เปลี่ยนหัวเพลาใหม่  หรือเปลี่ยนลูกปืน   ซึ่งใช้ได้ระดับหนึ่ง ราคาไม่แพง

จะเห็นได้ว่าชิ้นส่วนที่ต้องมีการเคลื่อนที่  หรือหมุนได้เช่น "เพลาขับ" เป็นชิ้นส่วนสำคัญ   ที่ต้องมีการดูแลบำรุงรักษาให้มีสภาพดีอยู่เสมอ   และเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาค่อนข้างสูง  หากต้องมีการเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้นหรือทั้งเพลาด้านซ้าย และขาว   เราอาจจะไม่ต้องเสียเงินจำนวนมาก   หากเรามีการดูแลที่ดี
"สายพานไทม์มิ่ง"

ผู้ใช้รถหลายท่าน อาจจะยังไม่เคยได้ยินคำว่า "สายพานไทม์มิ่ง" คืออะไร สำคัญอย่างไร ต่อเครื่องยนต์ที่ท่านขับขี่อยู่ หรือท่านที่รู้จักอยู่แล้ว ก็อาจมีคำถามตามมาว่า  เมื่อไหร่จะถึงระยะเวลาในการที่จะต้องเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

การทำงานของสายพานไทม์มิ่ง
          สายพานไทม์มิ่ง หรือ สายพานราวลิ้น Timing Belt  (ไทม์มิ่ง เบลท์)  สายพานไทม์มิ่ง มีหน้าที่กำหนดการทำงานของจังหวะเครื่องยนต์ทั้งสี่ คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด  และจังหวะคาย  ให้เกิดมีความสมดุล    เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะมีการระเบิดในกระบอกสูบ ทำให้เพลาข้อเหวี่ยง และมู่เล่ ที่ติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงหมุนฉุดให้  สายพานไทม์มิ่ง หมุนตาม  และส่งพลังงานไปที่เพลาลูกเบี้ยวอยู่เหนือฝาสูบ  ที่มีหน้าที่เปิด และปิดวาล์วไอดี  และวาล์วไอเสีย ให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่เครื่องยนต์ทุกรุ่นก็ไม่ได้ใช้ระบบนี้เสมอไป  อาจจะมีการใช้  โซ่โลหะแทน  แต่หากใช้ระบบสายพานไทม์มิ่ง  ที่มีส่วนผสมของยาง  ถ้าสายพานไทม์มิ่งเกิดขาด  จะทำให้เกิดความเสียหายมาก  เช่น  วาล์วคดหัวลูกสูบแตกร้าว ฯลฯ  และรถจะไม่สามารถขับต่อไปได้
 ระยะเวลาในการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

          สำหรับระยะเวลา อายุการใช้งานสายพานไทม์มิ่งนั้น  โดยปกติบรรดาผู้ผลิตต่างก็กำหนดไว้ที่ ประมาณหนึ่งแสนกิโลเมตร หรือ ราวๆ 3ปี  แต่ก็สามารถยืดหยุ่นกันได้เล็กน้อย  ตามสภาพของการใช้งาน  เช่น รถที่ใช้อยู่ในเมืองอันต้องผจญกับการจราจรติดขัดกันทุกๆ สี่แยก  หรือบรรดาวัยแรง  ผู้ชอบกวาดคันเร่งไล่รอบสูงกันอย่างฉับพลัน แถมซ้ำยังขับแช่รอบเป็นเวลานานๆ นั้น  แน่นอนอายุการใช้งานของสายพาน  ก็ย่อมที่จะสั้นลงกว่าปกติ  จึงควรที่จะทำการเช็คสภาพของสายพานกันก่อนใกล้ๆ  80,000 กิโลเมตร  ซึ่งการเช็คนั้น  ก็จะทำได้โดยเปิดฝาครอบเครื่องออก แล้วก็ตรวจดูบริเวณด้านหลังของสายพาน  ที่มีลักษณะแบนเรียบ ว่าปรากฎร่องรอยแตกลายงา  หรือมองเห็นร่องเฟือง ได้อย่างชัดเจนหรือไม่ ถ้ามีลวดลายแปลกๆ  เกิดขึ้น  นั้นก็หมายความถึง สายพานไทม์มิ่ง เส้นนั้นของคุณใกล้ขาดแล้ว  ต้องทำการเปลี่ยนใหม่

          ซึ่งถ้าโชคดีก็จะมีผลข้างเคียง คือ จังหวะการจุดระเบิด ที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมทำให้ขุมพลังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่  หรือหากโชคร้ายกว่านั้น  สายพานไทม์มิ่งเกิดขาด ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ อาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์คือ วาล์ว กับหัวลูกสูบ  เกิดความเสียหายมากที่สำคัญหากทำการเปลี่ยนสายพานแล้วทั้งที ก็ควรจะเปลี่ยนลูกรอก พร้อมกันไปเลยจะดีกว่า  ไม่อย่างนั้นถ้าหากเกิดการแตกหักของตัวลูกปืนที่อยู่ในลูกรอกภายหลัง  ก็ต้องมาเสียเวลาเปลี่ยนอีกครั้ง
วิธีการบำรุงรัษา

          การที่นำเอาน้ำยาอเนกประสงค์ไปทำการฉีดพ่นสายพานเพื่อลดเสียงดังนั้น  มันไม่ค่อยเป็นผลดีสักเท่าใด ก็เพราะว่าจริงๆ แล้ว คุณสมบัติหลักของน้ำยาอเนกประสงค์  ก็คือช่วยในเรื่องการคลายน็อตที่ยึดติดแน่น  โดยใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมหลักคือโซลเวนท์ เป็นตัวทำละลาย กัดกร่อนสนิม  ที่เกาะยึดแน่นอยู่ให้หลุดร่อนออก จากนั้นส่วนผสมที่เหลือ คือน้ำมันหล่อลื่น ก็จะเข้าไปทำหน้าที่คลายน็อต ให้ออกแรงขันออกได้โดยง่าย  ซึ่งถ้าหากเรานำมาใช้ฉีดพ่นไปตรงสายพาน  ที่กำลังส่งเสียงร้องแล้วเกิดการเงียบลง  ก็เป็นเพราะน้ำยาหล่อลื่นนี่เอง ที่เข้าไปช่วยให้เนื้อสายพานมันชุ่มชื้นขึ้น  แต่ตัวโซลเวนท์ อันเป็นวัตถุดิบหลักก็จะค่อยๆ กัดกร่อน  สายพานภายหลังจนเกิดความเสียหายได้  แต่ถ้าหากเรานำเอา สเปรย์เคลือบเงาเบาะ   ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบ ที่เน้นถึงการบำรุงพร้อมเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่วัสดุที่เป็นหนัง หรือยางต่างๆ  ดังนั้นนอกจากจะไม่เป็นอันตราย ต่อตัวสายพานแล้ว ยังกลับเป็นการทนุถนอมสายพาน  ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิม  และเรายังสามารถนำไปใช้ฉีดพ่นสายไฟ  เพื่อป้องกันการแตกกรอบ  อันเนื่องมาจากความร้อนสะสมในห้องเครื่อง  ได้อีกทางหนึ่งด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น