วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

น้ำยาหม้อน้ำป้องกันสนิม และลดความร้อน

น้ำยาหม้อน้ำป้องกันสนิม และลดความร้อน อากาศในบ้านเราทุกวันนี้มีสภาพอากาศที่ ร้อนกว่าปกติ ทำให้อุณหภูมิในรถสูงขึ้นมาก วันนี้เรามีวิธีคลายร้อนสำหรับรถมาฝากทุกท่าน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเรื่องราวของระบบระบายความร้อนในรถยนต์กันก่อน

ในที่นี่เราจะสามารถแยกการระบายความร้อนได้ 2 ส่วนคือ เครื่องยนต์กับผู้โดยสาร ในส่วนของผู้โดยสารนั้น อากาศภายในรถจะถูกปรับอุณหภูมิด้วยเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งนั่นจะช่วยให้ผู้ขับขี่ได้รับความสบายในการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ นั่นเอง อีกส่วนที่วันนี้เราจะพูดถึงนั่นคือ การระบายความร้อนสำหรับเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ที่ติดตั้งในรถยนต์ปัจจุบันนั้นมี การใช้เชื้อเพลิงหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีการทำงาน และความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นแตกกต่างกันออกไป การระบายความร้อนของรถแต่ละคันจึงได้รับการออกแบบแตกต่างกัน แต่ก็จะมีอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกันต่างกันเพียงรูปร่างหน้าตาเท่านั้น

คราวนี้เรามาทำความรู้จักกับระบบระบายความร้อนในเครื่องยนต์กันบ้าง อุปกรณ์ที่มีในระบบจะมีเพียงไม่กี่ชิ้น เริ่มต้นกันที่แผงระบายความร้อน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อเรียกว่า "หม้อน้ำ" ต่อมาคือ ฝาหม้อน้ำ ถังพักน้ำ ท่อยางเดินน้ำ วาล์วน้ำ พัดลมไฟฟ้า และเซ็นเซอร์ควบคุมอุณหภูมิน้ำ (จะใช้อ่านค่าความร้อนและแสดงที่เรือนไมล์ด้วย) การดูแลรักษาให้ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์ยังคงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นรถเก่าหรือรถรุ่นใหม่น่าจะศึกษาไว้ เป็นงานง่ายๆ ที่หากมีเครื่องมือก็สามารถทำได้เอง

หม้อน้ำรถยนต์ในปัจจุบันมักจะผลิตจากอะลูมิเนียมประกบกับฝาพลาสติก เป็นการป้องกันการเกิดสนิมและก็มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องให้เครื่องยนต์แบกน้ำหนักมากจนเกินไป แม้จะเป็นเช่นนั้น "สนิม" ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้

คำถามก็คือ สนิมมาจากไหน คำตอบก็คือ มี 2 กรณี จุดแรกสนิมจะเกิดมาจาก เสื้อเครื่อง ในรถบางรุ่นเสื้อเครื่องจะยังเป็นเหล็กเนื่องจากมีความทนทานสูง ทนความร้อนได้ดี แต่เมื่อเหล็กเหล่านั้นมาเจอกับน้ำ แน่นอนว่าสนิมจะเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ จุดที่สองเกิดขึ้นมาจากทางเดินน้ำในจุดต่างๆ ที่อาจจะเป็นเหล็กหรือแม้กระทั่งสนิมบนผิวโลหะชนิดต่างๆ นั่นเอง แม้สนิมเหล่านี้จะไม่สามารถทำอันตรายอะลูมิเนียมได้มากนัก แต่ถ้าปล่อยไว้นาน อะลูมิเนียมก็มีโอกาสผุกร่อนได้เช่นกัน และคราบสนิมเหล่านั้นถ้าเข้าไปอุดตันในทางเดินของ หม้อน้ำ แน่นอนว่าการระบายความร้อนย่อมทำได้ไม่มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือล้างหม้อน้ำกันเกิดขึ้น การล้างหม้อน้ำไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถล้างหม้อน้ำได้ด้วยตนเอง การทำความสะอาดหม้อน้ำเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อน และการกัดกร่อนภายในที่อาจเกิดขึ้นได้

1. เริ่มจากปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นเสียก่อน เพราะถ้าเครื่องร้อนน้ำอาจจะ ลวกมือ จนเกิดอันตรายได้ (แต่ถ้าให้ช่างทำเค้าก็ทำตอนร้อนได้สบาย)

2. จากนั้นหาถุงพลาสติกคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ๆ หม้อน้ำ

3. มองหาปลั๊กถ่ายน้ำด้านล่างของตัวหม้อน้ำ และคลายไว้เล็กน้อยเปิดฝาหม้อน้ำ เมื่อหงายขึ้นมาถ้าพบคราบสนิมก็เตรียมตัว ถ่ายน้ำ ได้เลย

4. หา คีม มาหนึ่งตัว จากนั้นทำการปลดเข็มขัดรัดสายยางด้านล่างของหม้อน้ำออก น้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำจนออกไปหมด

5. เตรียมสายยางที่ต่อไว้กับก๊อกประปา จากนั้นใช้สายยางอีกด้านปักลงไปที่ ท่อเติมน้ำ จากนั้นสังเกตุคราบสนิมที่ออกมาจากท่อยางที่เราปลดออก หากมีสนิมในระบบเมื่อถอดท่อยางออก จะเห็นน้ำไหลออกมาพร้อมคราบสนิม โดยจะมีสีน้ำตาลเราก็ใส่น้ำลงไปเรื่อยๆ ทิ้งไว้สักพักจนสังเกตุเห็นว่าน้ำเริ่มใสก็ปิดน้ำนำสายยางออกได้

6. รอจนน้ำไหลออกจนหมดแล้วจึงนำท่อยางและเข็มขัดรัดเข้าไปในตำแหน่งเดิม
หลังจากล้างหม้อน้ำสะอาดแล้ว คราวนี้ก็เติมน้ำลงไปประมาณ 1/3 ของหม้อน้ำ ถ้าต้องการรักษาไม่ให้เกิดสนิมในระบบ ก็ให้ใช้ น้ำยาหล่อเย็น เติมลงไปหนึ่งขวด น้ำยาหล่อเย็น จะช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้นก็เท่ากับว่าจะทำให้น้ำยาเดือดยาก และยังมีน้ำยาเคมีที่ช่วยป้องกันการเกิดสนิมขึ้นอีกด้วย ส่วนสีสันที่ถูกเติมเข้าไปนั้นจะช่วยให้เราสังเกตุง่ายเวลาที่ระบบระบายความร้อนมีการรั่วซึมนั่นเอง แต่ถ้าไม่ต้องการใส่ก็ได้อันนี้แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของรถ

จากนั้นเติมน้ำให้เต็มก่อนปิดฝาให้หงายฝาหม้อน้ำขึ้นมาดู ถ้าสภาพยางใต้ฝาและดูค่าความแข็งแรงของสปริงว่าเริ่มไม่ดี เปลี่ยนใหม่ก็น่าจะดีไม่น้อย เพราะถ้าฝาทนแรงดันได้สูงก็จะทำให้น้ำเดือดได้ยากเช่นกัน น้ำในถังพักก็เติมให้อยู่ในระดับ FULL ไม่ต้องเติมจนเต็ม เพราะจะต้องมีพื้นที่เผื่อให้น้ำสามารถไหลมายังถังพักเมื่อร้อนมากๆ และสามารถไหลกลับไปในระบบได้เป็นจำนวนเท่าเดิม จากนั้นก็ติดเครื่องทิ้งไว้สักพัก ดูร่องร่อยการรั่วของน้ำตามที่ต่างๆ และเมื่อเรากลับเข้าไปมองเกจ์ความร้อนในรถจะพบว่าความร้อนจะขึ้นช้ากว่าเดิม และพัดลมจะหยุดการทำงานเร็วช่วยยืดอายุพัดลมไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

"AEM AIR-BYPASS VALVE" น้ำไม่ใช่ปัญหาสำหรับกรองเปลือยตัวนี้ ตั้งแต่ยุคกลางปี 90 ท่อดักอากาศได้ถูกพัฒนาและออกจำหน่ายหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแบบที่สามารถดักอากาศได้ดีที่สุดก็คือแบบที่สอดลงไปดักอากาศจากด้านล่างแถวๆ หน้ารถ ซึ่งจะได้อากาศที่เย็นกว่าอากาศภายในห้องเครื่อง และดีกว่าไปติดตั้งบริเวณส่วนอื่นเช่น ใกล้หม้อน้ำ หรือใกล้จุดความร้อนที่เกิดจากเครื่องยนต์ แต่จุดนี้เองก็เป็นจุดอ่อนเพราะเสี่ยงต่อการดูดน้ำเวลาน้ำท่วมหรือเจอน้ำจากพื้นกระเด็นเข้าได้
ในภาวะที่ต้องลุยน้ำเมื่อเจอฝนตกหนัก แน่นอนว่าคงจะมีเปอร์เซ็นต์ที่น้ำจะเข้าเครื่องยนต์ได้โดยความบังเอิญส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์เสมอ น้ำจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของเครื่องยนต์ และมีความยืดหยุ่นน้อยมาก ซึ่งถ้าลำดับการทำงานของเครื่องยนต์โดยไม่ซับซ้อนก็คงเปรียบเครื่องยนต์ได้เหมือนตัวปั๊มอากาศ ดูดอากาศเข้าแล้วก็บีบอัดอากาศนั้นเผาไหม้เชื้อเพลิง แล้วก็อัดอากาศออกไป

ทีนี้เมื่อลองปิดลิ้นปีกผีเสื้อพร้อมปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาต่อไปตามปกติ กระบอกสูบต้องทำหน้าที่อย่างหนักในการดูดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ จึงทำให้เกิดสูญญากาศขึ้นในท่อร่วมไอดีซึ่งแรงดูดนั้นสามารถดูดหลอดปรอทสูญญากาศที่มีระดับความสูง 20 นิ้ว อย่างสบาย อธิบายง่ายๆ ก็คือ หลอดสูญญากาศเป็นตัววัดปริมาณการดูดของเหลวว่าจะเป็นไปได้เช่นไร ในเมื่อปรอทก็ถือว่าเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นสูง ชนิดหนึ่งเช่นกัน

ดังนั้นเมื่อเครื่องยนต์ สามารถสร้างแรงดูดในระดับ 20 นิ้ว/ปรอทได้ นั่นแปลว่ามีแรงดูดอากาศที่แรงมาก ลองนึกภาพดูว่าถ้านำน้ำในปริมาณเดียวกันแทนในปรอท ในขนาดท่อเดียวกัน ระดับแรงดูดเดียวกัน แรงดูดนั้นจะสามารถดูดน้ำที่มีปริมาตรความสูง 22 ฟุตได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่อร่วมไอดีของคุณจะมีความยาวเพียงใด ถ้ากรองอากาศอยู่ในน้ำก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่น้ำจะเข้าไปในเครื่องยนต์ของคุณ
ลองคิดต่อไปอีกว่าถ้ามีน้ำปริมาณ 2 ลิตรอยู่ในเครื่องยนต์ และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกสูบแต่ละหัวมีน้ำกว่า 100ซี.ซี. หรือน้ำเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด แล้วสมมุติต่อไปอีกว่า เครื่องยนต์นี้มีอัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 10.0:1 จะทำให้ปริมาตรในห้องเผาไหม้จะลดลงไป 55.5 ซี.ซี. เมื่อลูกสูบชักและกระทบจุดสูงสุดในช่วงจังหวะอัดอากาศ และมีน้ำอยู่ 100 ซี.ซี. จะทำให้แรงอัดอากาศเกิดขึ้นมีมากกว่าปกติ และจะทำให้เครื่องยนต์น็อคหยุดการทำงาน

บางครั้งถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่มีฟายวิล น้ำหนักเบา ก้านกระทุ้ง ลูกสูบบล็อก หัวสูบ และประเก็นฝาสูบ ที่มีความทนทานสูง อาจแก้ไขเครื่องยนต์ที่หยุดทำงานได้โดยไม่ยากนัก เพียงแค่ถอดหัวเทียนออกทุกอันและสูบเอาน้ำที่เข้าไปออกให้หมด ส่วนมากจะใช้ได้กับเครื่องยนต์ที่มีการหมุนที่ไม่มีแรงเฉื่อยมากนัก เมื่อน้ำเป็นตัวการที่หยุดการทำงานของลูกสูบยากที่จะหยุดยั้งได้กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอาจเกิดผลเสียกับก้านกระทุ้งคด ลูกสูบแตก ผนังกระบอกสูบแตกร้าว ประเก็นฝาสูบหลุด หัวกระบอกสูบหลุดออกจากเบ้า หรือเกิดปัญหาร้ายแรงกับจุดอื่นอีกมากมายเกิดคาดเดา
ดังนั้นผู้ผลิต Cold air intake ส่วนใหญ่ตระหนักถึงความปลอดภัยของเครื่องยนต์เป็นหลัก เสนอให้ทำตามคำแนะนำเมื่อยามฝนตกขั้นตอนง่ายๆ ก็เพียงถอดส่วนที่ต่ำที่สุดของ intake ออกพร้อมทั้งถอดแอร์ฟิตเตอร์ขยับวางในตำแหน่งที่สูงขึ้นแต่ก็ยังสมารถทำงานได้ตามปกติจนกว่าฝนจะหยุดตกก็สามารถเปลี่ยนเป็นตามเดิม ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำได้ในทุกครั้ง แต่คำแนะนำที่ดีและง่ายที่สุดน่าจะเป็น พยายามหลบเลี่ยงหลุมน้ำ โคลน และก็อย่าขับเร็วเกินไปนักขณะฝนตกเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการใช้ท่อดักอากาศเข้าเครื่องยนต์ ที่มักมีข้อจำกัดจนทำให้ต้องตื่นกลัวกันบ้าง แต่เนื่องจากการทดสอบหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นและเถียงไม่ได้ว่ากำลังนั้นมีมากเพียงใด ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้คิดต้องหาทางแก้ โดย AEM ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ air-bypass วาล์ว อาจคลายความกังวลไปได้บ้าง น่าแปลกที่อุปกรณ์ดูไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด แต่กลับออกแบบค่อนข้างพิถีพิถัน
"AEM Air-Bypass Valve" นี้จะติดตั้งอยู่เหนือตัวแอร์ฟิลเตอร์ จะไม่มีการทำงานใดๆ จนกว่าฟิลเตอร์จมอยู่ใต้น้ำ ท่อสูญญากาศที่มีแรงดูดไม่มากนักก็จะทำให้ยาง 12 อัน หรือฟิลเตอร์ขนาดเล็กที่อยู่ในท่อ air-bypass เปิด ทำให้เครื่องยนต์สามารถดูดอากาศผ่านท่อนี้ได้ เมื่อใดที่ระดับน้ำลดลงก็จะกลับไปสู่ระบบการทำงานเดิมไม่ต้องผวา ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายของเครื่องยนต์อีกต่อไป
เมื่อรู้ข้อมูลของ bypass วาล์วครั้งแรก ก็น่าทดลองอย่างยิ่ง แต่เสี่ยงสูงมากถ้าต้องนำรถใครไปเป็นหนูทดลอง คงต้องพึ่งความคิดของผู้สร้าง (John Concialdi) ที่จะทำอย่างไรถึงจะให้เราเห็นประสิทธิภาพจริงได้ โดยที่ความคิดของเรานั้นต้องการให้ฟิลเตอร์จมน้ำขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ และเมื่อกรองอากาศต้องจมน้ำทั้งอันขณะเปิดลิ้นปีกผีเสื้อไว้ ตามด้วยการเร่งเครื่องเต็มที่ผลจะออกมาเป็นเช่นไร และถ้าใช้เครื่องที่มีแรงมากกว่า 250 hp จะเป็นอย่างไร

ทาง AEM ได้ทำการต่อท่อไอดีออกจากตัวเครื่อง โยงออกมานอกเฟนเดอร์ (ตัวถัง) และต่อโค้งลงพื้นวางไว้ใกล้กับล้อหลัง หลังจากนั้นก็เอา NSX ขึ้น Dyno พร้อมจุ่มฟิลเตอร์ลงในตู้ปลาที่มีน้ำอยู่เต็มตู้ มาดูกันว่าจะทำได้อย่างที่คิดหรือไม่ ขณะที่แท่น Dyno กำลังทำงานอยู่ไม่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นซึ่ง AEM ก็รอบครอบพอที่จะให้ท่อห่างจากตัวรถ พร้อมทั้งเลือกกระบอกพลาสติกใสเพื่อเปิดโอกาสได้เห็นการทำงานในน้ำกันอย่างเต็มที่ โดยให้ระดับน้ำสูงขึ้นมาเพียงไม่กี่นิ้วจากกรองอากาศนั้น เมื่อแคมเครื่อง V-TEC ทำงาน และต้องดูดอากาศเพิ่มขึ้น น้ำเริ่มถูกดูดอย่างเร็วสู่ท่อความยาวประมาณ 18น้ิว อย่างเห็นได้ชัด ผลปรากฎว่าไม่มีน้ำเข้าเครื่องเลยแม้แต่นิด หลังจากน้ำถ้าเร่งความเร็วเพิ่มจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็นใส่เกียร์ 3 Dyno เริ่มทำงานเร็วขึ้น จังหวะเดียวกับที่ดึงฟิลเตอร์ขึ้นสูงเหนือตู้ปลาแล้วเริ่มสลับจุ่มขึ้น/ลงในน้ำสลับกัน นี่อาจเป็นการทำลายเครื่องยนต์มากกว่าการทดลองก็เป็นได้

ผลแสดงให้เห็นว่าจุ่มฟิลเตอร์ลงไปคราวใดน้ำก็จะถูกดูดน้ำขึ้นมาตามท่อแทบทุกครั้ง แล้วก็เป็นการทดลองอีกครั้งที่ไม่มีโอกาสให้น้ำเล็ดลอดเข้าไปสู่เครื่องยนต์ได้ ต่อจากนั้นก็เอาฟิลเตอร์ออกพ้นน้ำขณะที่เครื่องยนต์เริ่มรอบจัดเรื่อยๆ อากาศเริ่มเข้าไปสู่ฟิลเตอร์มากตามไปด้วยแม้ว่าจะมีน้ำค้างอยู่ในท่อประมาณเกือบฟุตก็ตาม ดูไปแล้วแทบไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความเสียหายเลยแม้แต่น้อย ผลที่ได้จาการทดสอบจริงในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า ควรใช้ "AEM Air-Bypass Valve" และตระหนักถึงการขับขี่ในขณะฝนตกว่าไม่จำเป็นต้องรีบเร่งเครื่องมากนัก ควรจะทิ้งช่วงเวลาสักพัก จนกว่าน้ำออกไปหมดท่อไอดีเสียก่อนจะดีที่สุด

จริงๆ แล้วแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้คือควรหลีกเลี่ยงบ่อน้ำ หรือแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นให้ได้ขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนตกและไม่ควรขับรถเร็วในขณะที่ฝนตกจึงจะเป็นการดีที่สุด ก่อนที่จะคิดไปติดตั้งตัว "Air-Bypass Valve" หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้มันคือทางออกที่ดีทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น